Thursday, October 12, 2006

ทำอย่างไร ให้วัดเป็นศูนย์กลางของสังคมไทย ทุกรูปแบบ

สถานการณ์ในปัจจุบันที่โลกกำลังเปลี่ยน แปลงอย่างรวดเร็ว และหลายๆ ประเทศก็ชู เศรษฐกิจ เป็นอันดับแรก ๆ ในการ(พัฒนาประเทศ ประเทศไทยของเราก็อยู่ในข่ายประเทศที่ใช้เศรษฐกิจ เป็นเรื่องสำคัญอันดับหนึ่งในการพัฒนาประเทศ ผู้นำของประเทศต่าง ๆ หากมีการประชุมสัมมนาพบปะกัน เมื่อใดที่ไหน ก็จะพูดเรื่องเศรษฐกิจกันเป็นเรื่องสำคัญมากทีเดียว แล้วเราชาวพุทธมีวัดวาอารามอยู่กว่า ๓๐,๐๐๐ วัด จะอยู่นิ่งเฉยอยู่หรือ ไม่เหลียวหลังและเดินไปข้างหน้ากับเขาบ้างหรือ ผู้เขียนคิดว่า วัดในประเทศไทย น่าจะช่วย พัฒนาสังคมไทยได้มาก ซึ่งหลาย ๆ วัด ก็ได้ทำไปมากแล้ว มีประชาชนให้ความสนใจ ให้ความร่วมมือร่วมกิจกรรมที่วัดทำอยู่เป็นจำนวนมาก แต่หลายวัดก็ยัง ไม่เคลื่อนไหว ว่าจะทำอะไร จะทำอย่างไร ให้วัดของเราเป็นศูนย์กลางของสังคมไทยทุกรูปแบบ ให้ได้เหมือนกับสมัยเมื่อ ๕๐-๖๐ ปี ที่ผ่านมา
ผู้เขียนคิดว่า ยังไม่สายเกินไปที่วัดต่าง ๆ จะได้เริ่มปฏิบัติทดลองทำได้แล้ว และหลาย ๆ วัดที่ทำอย ู่แล้วก็ทำให้มากขึ้น จะมีประชาชนทุกเพศทุกวัยร่วมงานมากขึ้น ผู้เขียนขอเสนอหลักการ ทำวัดให้เป็นศูนย์กลางของ สังคมไทยทุกรูปแบบสัก ๑๐ ประการ คือ
๑. ทำวัดให้เป็นสถานศึกษาครบวงจร ซึ่งปัจจุบันวัดใหญ่ ๆ ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด มีโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตั้งอยู่ จำนวนมากพอสมควร แต่ยังไม่พึ่งพาอาศัยและอนุเคราะห์เกื้อกูลกันมากนัก ตัวอย่างเช่น โรงเรียนที่อยู่ในบริเวณ ที่ดินของวัดทำรั้วทำกำแพงกั้น ระหว่างวัดกับโรงเรียนอย่างมั่นคงแข็งแรง เหมือนกับโกรธกันมาเป็น ๑๐๐ ปี กระมัง หรือท่านเจ้าอาวาส กับหัวหน้าสถานศึกษาไม่ถูกกัน ไม่กินเส้นกัน มีความขัดแย้ง อยู่เสมอ เลยถือโอกาสทำรั้ว ทำกำแพงกั้นเสียเลย บางโรงเรียนที่อยู่ในที่ดินของวัด อาคารเรียนและอุปกรณ์การเรียนการสอน วัดก็จัดหาให้ด้วย แต่วันดีคืนดี โรงเรียนที่มีชื่อวัดนำหน้า ชื่อโรงเรียนก็ตัดคำว่า วัด ออกเสีย บางโรงเรียนผู้บริหาร ไปเรียนต่อต่างประเทศ จบปริญญาโท เอก ไปอยู่โรงเรียนเดิมไม่สามารถปรับตัว เข้ากับท่านเจ้าอาวาสได้ด้วยประการต่าง ๆ หรือ ผู้บริหารสถานศึกษาที่มิได้นับถือศาสนาพุทธ แต่ถูกบรรจุแต่งตั้งไปอยู่ในโรงเรียนของวัดก็มี ที่ยกตัวอย่างมานี้ เป็นอุปสรรคและปัญหา ในการพัฒนาโรงเรียนและพัฒนาวัดให้เจริญก้าวหน้าทั้งสิ้น ทางที่ดีแล้วท่านเจ้าอาวาส และผู้บริหารสถานศึกษาต้องหันหน้าเข้าหากัน โดยผู้บริหารสถานศึกษาต้องไปพบปะ ท่านเจ้าอาวาส ก่อนก็จะเป็นการดี และวัดใดที่มีพระภิกษุ ที่มีคุณวุฒิ นักธรรมเอก หรือ เปรียญธรรมหรือพุทธศาสตรบัณฑิต หรือศาสนศาสตรบัณฑิต จะต้องขออนุญาตจากหัวหน้า สถานศึกษาให้พระภิกษุที่มีความรู้ความสามารถ ได้เข้าไปสอน วิชาพระพุทธศาสนา ทุกชั้นเรียนด้วย เพราะปัจจุบันนักเรียนที่เป็นชาวพุทธไม่มีความรู้เรื่อง พระพุทธศาสนามีเป็นจำนวนมาก แต่ไปรู้เรื่องของศาสนาอื่น นี้คือจุดเสื่อมของพระพุทธ-ศาสนาโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือไม่มีเจตนาชนิดที่ว่า "ไม่เห็นโลงศพก็ไม่หลั่งน้ำตา" เพราะฉะนั้น วัดกับโรงเรียนจะต้องร่วมมือกันดังคำกล่าวที่ว่าทำ บ้าน วัด โรงเรียน "(บวร)" ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ประสานสัมพันธ์พึ่งพาอาศัยกัน สังคมไทยก็จะน่าอยู่น่าอาศัยไปนานแสนนาน
๒. ทำวัดให้เป็นสถานสงเคราะห์ วัดหลายแห่งได้ช่วยเหลือสงเคราะห์ประชาชน ที่ได้รับความทุกข์ ความเดือดร้อน ในรูปของสิ่งของเครื่องใช้ และเงินทอง ในกรณีต่าง ๆ เช่น น้ำท่วม ฝนแล้ง อากาศหนาว วาตภัย ไฟไหม้ ฯลฯ อยู่เป็นประจำ บางวัดจัดหน่วยสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชนขึ้นเอง หรือร่วมมือกับหน่วยงานของทางราชการ ซึ่งวัดไม่ได้เป็นเพียงผู้รับบริจาคเพียงอย่างเดียว แต่วัดก็เป็นผู้บริจาคให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชนด้วยการลดทิฏฐิของคนบางกลุ่มที่ว่า "วัดดีแต่รับเท่านั้น"
๓. ทำวัดให้เป็นสถานพยาบาล วัดที่มีความพร้อมสามารถจัดให้มี สถานพยาบาลภายในบริเวณวัดได้ เพราะปัจจุบันสถานพยาบาลของทางราชการมีไม่เพียงพอ ที่จะให้บริการก่ประชาชน และโรคที่เกิดขึ้นใหม่ ๆ ก็มีมาก เช่น โรคเอดส์ ยาเสพติดทุกชนิด บางวัดก็มีกองทุน มีมูลนิธิให้บริการช่วยเหลือสถานพยาบาลอยู่ก็มี ถ้าวัดต่าง ๆ หันมาให้ความสนใจ แพทย์แผนโบราณ เช่น การนวดแผนโบราณ หรือยาสมุนไพรต่าง ๆ โดยการปลูก การสกัดสมุนไพรเป็นยาและการบำบัดรักษา สิ่งเหล่านี้ ถ้าทางวัดจัดทำได้ ก็สามารถนำประชาชนเข้าวัดได้ทางหนึ่ง ประชาชนจะไม่ห่างจากวัดอย่างแน่นอน
๔. ทำวัดให้เป็นที่พักของคนเดินทาง วัดที่ตั้งอยู่ตามเมืองใหญ่ ๆ เช่น กรุงเทพฯ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง พิษณุโลก สุโขทัย หนองคาย อุบลราชธานี ขอนแก่น นครราชสีมา สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ภูเก็ต ตรัง ฯลฯ ในฤดูกาลท่องเที่ยว จะมีคณะนักเรียน นักศึกษา อุบาสก อุบาสิกา ไปขอพักชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวหรือกิจกรรมอื่น ๆ โดยวัดไม่ต้องเรียกเก็บเงินค่าใช้จ่าย แต่ให้คณะที่ไปพักทำบุญหรือบริจาคกันเอง ก็จะเข้าลักษณะของการให้ที่พักแก่คนเดินทางได้ ซึ่งถ้าวัดบริการดี ผู้ที่ไปพักอาศัยจะจดจำไปนานแสน
๕. ทำวัดให้เป็นสโมสรของชาวบ้าน ประชาชนในหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จะมีการรวมตัวประชุม พบปะ หรือจัดกิจกรรมต่าง ๆ กันอยู่เสมอ ถ้าวัดใดสามารถจัดสถานที่ ให้ประชาชนเข้ามาใช้ได้ เช่น ศาลาการเปรียญ เป็นต้น แทนที่ประชาชนจะไปใช้ศาลาประชาคม ประจำหมู่บ้าน ตำบล ก็จะมาใช้บริการของวัด หากได้รับความสะดวก ท่านเจ้าอาวาสก็เป็นกันเอง ต้อนรับขับสู้เป็นอย่างดี จะทำให้วัดกับบ้านพึ่งพาอาศัยกันมากขึ้น เข้าทำนองบทกลอนที่ว่า "บ้านกับวัดผลัดกันช่วยยิ่งอวยชัย ถ้าขัดกันก็บรรลัยทั้งสองทาง"
๖. ทำวัดให้เป็นสถานที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท วัดใดท่านเจ้าอาวาสเป็นที่เคารพสักการะของประชาชน ในหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด เมื่อประชาชนมีความทุกข์ ความเดือดร้อน มีกรณีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่ไม่ร้ายแรง ถ้าท่านเจ้าอาวาสช่วยระงับข้อพิพาทได้ โดยไม่ต้องไปหาเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ ก็จะเพิ่มความเชื่อถือเลื่อมใสศรัทธาให้ประชาชนเข้าวัดมากขึ้น หรือถ้าให้ธรรมะไปประยุกต์ใช้ใน การดำรงชีวิตด้วยแล้ว พระพุทธ-ศาสนาก็จะเจริญและมั่นคงยิ่งขึ้น
๗. ทำวัดให้เป็นศูนย์กลางของศิลปวัฒนธรรม ในบริเวณวัดถ้าสามารถ จัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ของวัดได้ หรือให้หน่วยงานของทางราชการจัดทำพิพิธภัณฑ์อยู่แล้ว ทางวัดจะมีกิจกรรมอะไรเป็นการเสริมส่วนที่เป็นของวัดด้วยก็จะดีมาก เพราะหลายวัด ที่สร้างมานาน ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย สมัยกรุงศรี-อยุธยา สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จะมีสิ่งของต่าง ๆ ที่มีประชาชนบริจาคไว้ หรืออดีตเจ้าอาวาสองค์ก่อน ๆ จัดหาไว้ ซึ่งส่วนใหญ่จะบ่งบอก ถึงศิลปวัฒนธรรมที่ดีงามทั้งนั้น น่าจะนำมาแสดง หรือจัดนิทรรศการให้ประชาชน เยาวชน ได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ซึ่งจะทำให้เยาวขนเข้าใจหลักธรรมของพระพุทธศาสนามากขึ้น
๘. ทำวัดให้เป็นคลังพัสดุ วัดในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดหลาย ๆ วัด ทำอยู่แล้วสามารถให้ยืมสิ่งของต่าง ๆ ไปใช้ที่บ้าน เมื่อทางบ้านมีงาน หรือกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้น เช่น ยืมโต๊ะหมู่บูชา ยืมถ้วยชาม ฯลฯ งานเสร็จแล้วนำสิ่งของส่งคืนวัด ก็จะทำบุญเพิ่มสิ่งของ ให้มากขึ้น วัดก็จะเป็นแหล่งคลังพัสดุของหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ตลอดไป
๙. ทำวัดให้เป็นศูนย์กลางการบริหารการปกครอง ถ้าวัดใดสามารถให้ความร่วมมือกับทางราชการ ในการจัดประชุมสัมมนา ได้เป็นครั้งคราว หรือแม้แต่งานของคณะสงฆ์เอง ภายในตำบล อำเภอ จังหวัด หรือมีสถานที่ให้หน่วยงานของทางราชการ มาทำเป็นสำนักงานภายในวัดได้ หรือหน่วยงานของคณะสงฆ์ ที่จะเกิดขึ้นใหม่ เช่น สำนักงานพระพุทธศาสนาประจำจังหวัด อำเภอ จะทำให้ประชาชนมาใช้บริการและใกล้ชิดกับวัดมากขึ้น ประชาชนจะไม่ห่างจากวัด
๑๐. ทำวัดให้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดงานวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันปิยมหาราช วันสถาปนาของหน่วยงานต่าง ๆ ถ้าสามารถจัดในวัดได้ ที่นอกเหนือ จากงานพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งทางวัดจัดทำอยู่แล้ว ถ้าสามารถ ให้ประชาชน ในหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ มาจัดในวัดได้ก็จะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนเข้าวัด มากขึ้นเช่นกัน
ตามที่นำเสนอทั้ง ๑๐ ประการนี้ วัดทั้งในกรุงเทพฯและ ต่างจังหวัด ได้ปฏิบัติ จัดทำอยู่แล้วแต่ไม่ครบทุกข้อแล้วแต่ความพร้อม ของแต่ละวัดถ้าวัดใดยังไม่ได้ ปฏิบัติจัดทำเลย ก็โปรดลงมือทดลอง ทำตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เพื่อให้วัดเป็นศูนย์กลาง ของชุมชน ของสังคม เป็นผู้นำของหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ดังในอดีต ที่ผ่านมาเมื่อ ๕๐-๖๐ ปี โดยชักชวน ลูกหลาน เหลน โหลน เข้าวัดด้วย ทั้งนี้เพื่อให้พระพุทธศาสนา เข้มแข็ง มีความมั่นคงไม่สูญสิ้นไปจาก ประเทศไทยอีกนานแสนนาน
ฉะนั้น ขอให้คณะพุทธบริษัท จงรีบสำรวจว่าวัดของท่านทำได้กี่ข้อกี่เรื่องแล้ว ยังขาดเรื่องอะไรบ้าง โดยรวมตัวผนึกกำลังวัดต่าง ๆ ในเขตปกครองทำเป็นกลุ่ม ตำบลละ ๑ วัด ถ้ามีหลายวัด หรือในหลาย ๆ วัดต่อ ๑ อำเภอ เพราะถ้าต่างวัดต่างทำจะไม่เข้มแข็งและมีกำลังคน กำลังงบประมาณไม่เพียงพอ จะทำไม่สำเร็จ ถ้าท่านเจ้าอาวาสยังคิดว่า ไม่เป็นไร ไม่เป็นไร ไม่เป็นไร พระพุทธศาสนาไม่มีใครทำอะไรได้ ยังถือหลักอุเบกขาอยู่ ก็จะตามไม่ทันสถานการณ์ ของบ้านเมืองที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบันในมาตรา ๓๘ และมาตรา ๗๓ กำหนดให้ประชาชนมีเสรีภาพ ในการนับถือศาสนา และนิกายที่ หลากหลายมากขึ้น ประกอบกับทุกศาสนา รัฐให้ความสำคัญเท่าเทียมกันทุกศาสนา และถ้าท่าน เจ้าอาวาสวัดต่าง ๆ ติดตามสถานการณ์อยู่เสมอจะพบว่า
๑. จำนวนวัดร้างเพิ่มมากขึ้นประมาณ ๖,๐๐๐ วัด และขณะนี้นักการเมือง กำลังจ้องมอง วัดร้างเหล่านี้ว่าจะนำที่ดินไปทำให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร ซึ่งนักการเมือง ได้ทำกับที่ดินของวัดธรรมมิการาม จ.ประจวบคีรีขันธ์ ที่ดินอยู่ที่จังหวัดปทุมธานี โดยทำเป็น สนามกอล์ฟอัลไพน์และที่ดินจัดสรรเป็นบ้านพักอาศัย สำเร็จไปขั้นหนึ่งแล้ว
๒. จำนวนพระภิกษุ สามเณร อยู่จำพรรษา แต่ละปีมีประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ รูป ออกพรรษาจะลดจำนวนเหลือ อยู่ประมาณ ๒๓๐,๐๐๐ รูป มาประมาณ ๒๐ ปีแล้ว ไม่มีการเพิ่มขึ้นมีแต่ลดลงเรื่อย ๆ นี่แสดงว่าการบวชเรียนของ พระภิกษุ สามเณร ลดลง จำนวนไม่เพิ่มขึ้น
๓. ที่คุยกันว่า ในประเทศไทยมีชาวพุทธประมาณ ๕๗-๕๘ ล้านคนนั้น น่าจะเป็นตัวเลขที่ไม่ถูกต้อง จำนวนชาวพุทธลดลง ขณะนี้จะมีประมาณ ๕๕ ล้านคน เป็นชาวพุทธที่มีความรู้ความเข้าใจหลักของพระพุทธศาสนาจริง ๆ และนำธรรมะของ พระพุทธศาสนาไปปฏิบัติอยู่เป็นนิตย์ประมาณสัก ๒-๓ ล้านคน นอกนั้นจะเป็นชาวพุทธ ตามทะเบียนบ้าน
๔. การเรียนการสอนนักธรร, บาลี ไม่มีการปรัปรุงให้ สอดคล้องกับการศึกษา ทางโลกและไม่สามารถถ่ายโอนหน่วยการเรียนกันได้ กุลบุตรในท้องถิ่นจึงมุ่ง ไปเรียนทางโลก มากกว่ามาบวชเรียนเป็นพระภิกษุ สามเณร และเมื่อ วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๔๕ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม "หลักสูตรใหม่เด็กไทยพัฒนาฯ" ณ สถาบัน ราชภัฎสวนดุสิต ติงว่าสาระการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนานั้น กรอบความคิดดีแล้ว แต่รายละเอียด มากเกินไป หากใครเรียนจบพระพุทธศาสนาตามหลักสูตรใหม่เหมือนจบ ปริญญาเอกทางพระ อยากให้เน้นสอนหน้าที่พลเมืองมากกว่า และไปเพิ่มน้ำหนักวิชาคณิต-ศาสตร ์และภาษาอังกฤษ ให้มากขึ้น* นับว่าเป็นความคิดที่ดี แต่การที่จะตัดวิชาพระพุทธศาสนาให้น้อยลง ไม่ถูกต้อง แน่นอน เพราะที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน นักเรียนนักศึกษาที่เป็นชาวพุทธ มีความรู้ ความเข้าใจใน พระพุทธศาสนาน้อยมาก จึงจำเป็นต้องสอนวิชาพระพุทธศาสนา ทุกโรงเรียนแก่ นักเรียนที่เป็น พุทธ-ศาสนิกชนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงปริญญาตรีเป็นอย่างน้อย ซึ่งความยากง่าย ของหลักสูตร ปรับเปลี่ยนได้ทุกชั้นเรียน เพราะนักเรียนนักศึกษาที่มีความเครียด เป็นโรคจิต โรคประสาท ถึงฆ่าตัวตายมีอยู่ทุกวัน เนื่องจากขาดธรรมะในวิชา พระพุทธศาสนาไป ชโลมจิต ใจนั่นเอง วิชาพระพุทธศาสนาถ้านำไปใช้เป็น จะสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ของโลกได้ทุกเรื่อง เมื่อตอนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายก รัฐมนตรี ใหม่ ๆ ได้ไปพบพระมหาเถระรูปหนึ่ง แล้วท่านพระมหาเถระรูปนั้นได้มอบร่าง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ..... ให้ด้วย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้สัมภาษณ์ว่า "ผมเป็นชาวพุทธ ๑๐๐ % จะดูแลให้ดีที่สุด" ซึ่งขณะนี้ร่าง พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ..... ถูกเก็บดองไว้ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เกือบ ๒ ปีแล้ว นี้หมายความว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการให้ชาวพุทธเป็นอะไร พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นชาวพุทธจริงหรือไม่ ชาวพุทธ กำลังสงสัยกันอยู่หรือว่าพระภิกษุ ไม่มีสิทธิ์เลือกตั้ง ได้เลยไม่ต้องหาเสียงกับพระ ประกอบกับ ขณะนี้นักการเมือง นักบริหาร นักวิชาการ ครูอาจารย์ นิสิต นักศึกษา ฯลฯ ในระดับต่าง ๆ กำลังเพ่งมองมาที่วัดของเราว่า ใช้เงินลงทุนสร้างวัดใหญ่โต หรูหรา สวยงาม มีสิ่งอำนวย ความสะดวกมากมาย แต่การใช้สอยไม่คุ้มทุน ไม่คุ้มค่า ชาวบ้านรอบ ๆ บริเวณวัดยังยากจนอยู่ เป็นการสูญเสีย ทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก
ทำอย่างไร ? ให้วัดเป็นศูนย์กลางของสังคมไทย ทุกรูปแบบ
จาก น.ส.พ. ไทยรัฐ หน้า ๑๕ และเดลินิวส์ หน้า ๑๕ : ๒๖ ธ.ค. ๒๕๔๕
สถานการณ์ในปัจจุบันที่โลกกำลังเปลี่ยน แปลงอย่างรวดเร็ว และหลายๆ ประเทศก็ชู เศรษฐกิจ เป็นอันดับแรก ๆ ในการ(พัฒนาประเทศ ประเทศไทยของเราก็อยู่ในข่ายประเทศที่ใช้เศรษฐกิจ เป็นเรื่องสำคัญอันดับหนึ่งในการพัฒนาประเทศ ผู้นำของประเทศต่าง ๆ หากมีการประชุมสัมมนาพบปะกัน เมื่อใดที่ไหน ก็จะพูดเรื่องเศรษฐกิจกันเป็นเรื่องสำคัญมากทีเดียว แล้วเราชาวพุทธมีวัดวาอารามอยู่กว่า ๓๐,๐๐๐ วัด จะอยู่นิ่งเฉยอยู่หรือ ไม่เหลียวหลังและเดินไปข้างหน้ากับเขาบ้างหรือ ผู้เขียนคิดว่า วัดในประเทศไทย น่าจะช่วย พัฒนาสังคมไทยได้มาก ซึ่งหลาย ๆ วัด ก็ได้ทำไปมากแล้ว มีประชาชนให้ความสนใจ ให้ความร่วมมือร่วมกิจกรรมที่วัดทำอยู่เป็นจำนวนมาก แต่หลายวัดก็ยัง ไม่เคลื่อนไหว ว่าจะทำอะไร จะทำอย่างไร ให้วัดของเราเป็นศูนย์กลางของสังคมไทยทุกรูปแบบ ให้ได้เหมือนกับสมัยเมื่อ ๕๐-๖๐ ปี ที่ผ่านมา
ผู้เขียนคิดว่า ยังไม่สายเกินไปที่วัดต่าง ๆ จะได้เริ่มปฏิบัติทดลองทำได้แล้ว และหลาย ๆ วัดที่ทำอย ู่แล้วก็ทำให้มากขึ้น จะมีประชาชนทุกเพศทุกวัยร่วมงานมากขึ้น ผู้เขียนขอเสนอหลักการ ทำวัดให้เป็นศูนย์กลางของ สังคมไทยทุกรูปแบบสัก ๑๐ ประการ คือ
๑. ทำวัดให้เป็นสถานศึกษาครบวงจร ซึ่งปัจจุบันวัดใหญ่ ๆ ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด มีโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตั้งอยู่ จำนวนมากพอสมควร แต่ยังไม่พึ่งพาอาศัยและอนุเคราะห์เกื้อกูลกันมากนัก ตัวอย่างเช่น โรงเรียนที่อยู่ในบริเวณ ที่ดินของวัดทำรั้วทำกำแพงกั้น ระหว่างวัดกับโรงเรียนอย่างมั่นคงแข็งแรง เหมือนกับโกรธกันมาเป็น ๑๐๐ ปี กระมัง หรือท่านเจ้าอาวาส กับหัวหน้าสถานศึกษาไม่ถูกกัน ไม่กินเส้นกัน มีความขัดแย้ง อยู่เสมอ เลยถือโอกาสทำรั้ว ทำกำแพงกั้นเสียเลย บางโรงเรียนที่อยู่ในที่ดินของวัด อาคารเรียนและอุปกรณ์การเรียนการสอน วัดก็จัดหาให้ด้วย แต่วันดีคืนดี โรงเรียนที่มีชื่อวัดนำหน้า ชื่อโรงเรียนก็ตัดคำว่า วัด ออกเสีย บางโรงเรียนผู้บริหาร ไปเรียนต่อต่างประเทศ จบปริญญาโท เอก ไปอยู่โรงเรียนเดิมไม่สามารถปรับตัว เข้ากับท่านเจ้าอาวาสได้ด้วยประการต่าง ๆ หรือ ผู้บริหารสถานศึกษาที่มิได้นับถือศาสนาพุทธ แต่ถูกบรรจุแต่งตั้งไปอยู่ในโรงเรียนของวัดก็มี ที่ยกตัวอย่างมานี้ เป็นอุปสรรคและปัญหา ในการพัฒนาโรงเรียนและพัฒนาวัดให้เจริญก้าวหน้าทั้งสิ้น ทางที่ดีแล้วท่านเจ้าอาวาส และผู้บริหารสถานศึกษาต้องหันหน้าเข้าหากัน โดยผู้บริหารสถานศึกษาต้องไปพบปะ ท่านเจ้าอาวาส ก่อนก็จะเป็นการดี และวัดใดที่มีพระภิกษุ ที่มีคุณวุฒิ นักธรรมเอก หรือ เปรียญธรรมหรือพุทธศาสตรบัณฑิต หรือศาสนศาสตรบัณฑิต จะต้องขออนุญาตจากหัวหน้า สถานศึกษาให้พระภิกษุที่มีความรู้ความสามารถ ได้เข้าไปสอน วิชาพระพุทธศาสนา ทุกชั้นเรียนด้วย เพราะปัจจุบันนักเรียนที่เป็นชาวพุทธไม่มีความรู้เรื่อง พระพุทธศาสนามีเป็นจำนวนมาก แต่ไปรู้เรื่องของศาสนาอื่น นี้คือจุดเสื่อมของพระพุทธ-ศาสนาโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือไม่มีเจตนาชนิดที่ว่า "ไม่เห็นโลงศพก็ไม่หลั่งน้ำตา" เพราะฉะนั้น วัดกับโรงเรียนจะต้องร่วมมือกันดังคำกล่าวที่ว่าทำ บ้าน วัด โรงเรียน "(บวร)" ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ประสานสัมพันธ์พึ่งพาอาศัยกัน สังคมไทยก็จะน่าอยู่น่าอาศัยไปนานแสนนาน
๒. ทำวัดให้เป็นสถานสงเคราะห์ วัดหลายแห่งได้ช่วยเหลือสงเคราะห์ประชาชน ที่ได้รับความทุกข์ ความเดือดร้อน ในรูปของสิ่งของเครื่องใช้ และเงินทอง ในกรณีต่าง ๆ เช่น น้ำท่วม ฝนแล้ง อากาศหนาว วาตภัย ไฟไหม้ ฯลฯ อยู่เป็นประจำ บางวัดจัดหน่วยสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชนขึ้นเอง หรือร่วมมือกับหน่วยงานของทางราชการ ซึ่งวัดไม่ได้เป็นเพียงผู้รับบริจาคเพียงอย่างเดียว แต่วัดก็เป็นผู้บริจาคให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชนด้วยการลดทิฏฐิของคนบางกลุ่มที่ว่า "วัดดีแต่รับเท่านั้น"
๓. ทำวัดให้เป็นสถานพยาบาล วัดที่มีความพร้อมสามารถจัดให้มี สถานพยาบาลภายในบริเวณวัดได้ เพราะปัจจุบันสถานพยาบาลของทางราชการมีไม่เพียงพอ ที่จะให้บริการก่ประชาชน และโรคที่เกิดขึ้นใหม่ ๆ ก็มีมาก เช่น โรคเอดส์ ยาเสพติดทุกชนิด บางวัดก็มีกองทุน มีมูลนิธิให้บริการช่วยเหลือสถานพยาบาลอยู่ก็มี ถ้าวัดต่าง ๆ หันมาให้ความสนใจ แพทย์แผนโบราณ เช่น การนวดแผนโบราณ หรือยาสมุนไพรต่าง ๆ โดยการปลูก การสกัดสมุนไพรเป็นยาและการบำบัดรักษา สิ่งเหล่านี้ ถ้าทางวัดจัดทำได้ ก็สามารถนำประชาชนเข้าวัดได้ทางหนึ่ง ประชาชนจะไม่ห่างจากวัดอย่างแน่นอน
๔. ทำวัดให้เป็นที่พักของคนเดินทาง วัดที่ตั้งอยู่ตามเมืองใหญ่ ๆ เช่น กรุงเทพฯ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง พิษณุโลก สุโขทัย หนองคาย อุบลราชธานี ขอนแก่น นครราชสีมา สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ภูเก็ต ตรัง ฯลฯ ในฤดูกาลท่องเที่ยว จะมีคณะนักเรียน นักศึกษา อุบาสก อุบาสิกา ไปขอพักชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวหรือกิจกรรมอื่น ๆ โดยวัดไม่ต้องเรียกเก็บเงินค่าใช้จ่าย แต่ให้คณะที่ไปพักทำบุญหรือบริจาคกันเอง ก็จะเข้าลักษณะของการให้ที่พักแก่คนเดินทางได้ ซึ่งถ้าวัดบริการดี ผู้ที่ไปพักอาศัยจะจดจำไปนานแสน
๕. ทำวัดให้เป็นสโมสรของชาวบ้าน ประชาชนในหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จะมีการรวมตัวประชุม พบปะ หรือจัดกิจกรรมต่าง ๆ กันอยู่เสมอ ถ้าวัดใดสามารถจัดสถานที่ ให้ประชาชนเข้ามาใช้ได้ เช่น ศาลาการเปรียญ เป็นต้น แทนที่ประชาชนจะไปใช้ศาลาประชาคม ประจำหมู่บ้าน ตำบล ก็จะมาใช้บริการของวัด หากได้รับความสะดวก ท่านเจ้าอาวาสก็เป็นกันเอง ต้อนรับขับสู้เป็นอย่างดี จะทำให้วัดกับบ้านพึ่งพาอาศัยกันมากขึ้น เข้าทำนองบทกลอนที่ว่า "บ้านกับวัดผลัดกันช่วยยิ่งอวยชัย ถ้าขัดกันก็บรรลัยทั้งสองทาง"
๖. ทำวัดให้เป็นสถานที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท วัดใดท่านเจ้าอาวาสเป็นที่เคารพสักการะของประชาชน ในหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด เมื่อประชาชนมีความทุกข์ ความเดือดร้อน มีกรณีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่ไม่ร้ายแรง ถ้าท่านเจ้าอาวาสช่วยระงับข้อพิพาทได้ โดยไม่ต้องไปหาเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ ก็จะเพิ่มความเชื่อถือเลื่อมใสศรัทธาให้ประชาชนเข้าวัดมากขึ้น หรือถ้าให้ธรรมะไปประยุกต์ใช้ใน การดำรงชีวิตด้วยแล้ว พระพุทธ-ศาสนาก็จะเจริญและมั่นคงยิ่งขึ้น
๗. ทำวัดให้เป็นศูนย์กลางของศิลปวัฒนธรรม ในบริเวณวัดถ้าสามารถ จัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ของวัดได้ หรือให้หน่วยงานของทางราชการจัดทำพิพิธภัณฑ์อยู่แล้ว ทางวัดจะมีกิจกรรมอะไรเป็นการเสริมส่วนที่เป็นของวัดด้วยก็จะดีมาก เพราะหลายวัด ที่สร้างมานาน ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย สมัยกรุงศรี-อยุธยา สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จะมีสิ่งของต่าง ๆ ที่มีประชาชนบริจาคไว้ หรืออดีตเจ้าอาวาสองค์ก่อน ๆ จัดหาไว้ ซึ่งส่วนใหญ่จะบ่งบอก ถึงศิลปวัฒนธรรมที่ดีงามทั้งนั้น น่าจะนำมาแสดง หรือจัดนิทรรศการให้ประชาชน เยาวชน ได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ซึ่งจะทำให้เยาวขนเข้าใจหลักธรรมของพระพุทธศาสนามากขึ้น
๘. ทำวัดให้เป็นคลังพัสดุ วัดในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดหลาย ๆ วัด ทำอยู่แล้วสามารถให้ยืมสิ่งของต่าง ๆ ไปใช้ที่บ้าน เมื่อทางบ้านมีงาน หรือกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้น เช่น ยืมโต๊ะหมู่บูชา ยืมถ้วยชาม ฯลฯ งานเสร็จแล้วนำสิ่งของส่งคืนวัด ก็จะทำบุญเพิ่มสิ่งของ ให้มากขึ้น วัดก็จะเป็นแหล่งคลังพัสดุของหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ตลอดไป
๙. ทำวัดให้เป็นศูนย์กลางการบริหารการปกครอง ถ้าวัดใดสามารถให้ความร่วมมือกับทางราชการ ในการจัดประชุมสัมมนา ได้เป็นครั้งคราว หรือแม้แต่งานของคณะสงฆ์เอง ภายในตำบล อำเภอ จังหวัด หรือมีสถานที่ให้หน่วยงานของทางราชการ มาทำเป็นสำนักงานภายในวัดได้ หรือหน่วยงานของคณะสงฆ์ ที่จะเกิดขึ้นใหม่ เช่น สำนักงานพระพุทธศาสนาประจำจังหวัด อำเภอ จะทำให้ประชาชนมาใช้บริการและใกล้ชิดกับวัดมากขึ้น ประชาชนจะไม่ห่างจากวัด
๑๐. ทำวัดให้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดงานวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันปิยมหาราช วันสถาปนาของหน่วยงานต่าง ๆ ถ้าสามารถจัดในวัดได้ ที่นอกเหนือ จากงานพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งทางวัดจัดทำอยู่แล้ว ถ้าสามารถ ให้ประชาชน ในหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ มาจัดในวัดได้ก็จะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนเข้าวัด มากขึ้นเช่นกัน
ตามที่นำเสนอทั้ง ๑๐ ประการนี้ วัดทั้งในกรุงเทพฯและ ต่างจังหวัด ได้ปฏิบัติ จัดทำอยู่แล้วแต่ไม่ครบทุกข้อแล้วแต่ความพร้อม ของแต่ละวัดถ้าวัดใดยังไม่ได้ ปฏิบัติจัดทำเลย ก็โปรดลงมือทดลอง ทำตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เพื่อให้วัดเป็นศูนย์กลาง ของชุมชน ของสังคม เป็นผู้นำของหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ดังในอดีต ที่ผ่านมาเมื่อ ๕๐-๖๐ ปี โดยชักชวน ลูกหลาน เหลน โหลน เข้าวัดด้วย ทั้งนี้เพื่อให้พระพุทธศาสนา เข้มแข็ง มีความมั่นคงไม่สูญสิ้นไปจาก ประเทศไทยอีกนานแสนนาน
ฉะนั้น ขอให้คณะพุทธบริษัท จงรีบสำรวจว่าวัดของท่านทำได้กี่ข้อกี่เรื่องแล้ว ยังขาดเรื่องอะไรบ้าง โดยรวมตัวผนึกกำลังวัดต่าง ๆ ในเขตปกครองทำเป็นกลุ่ม ตำบลละ ๑ วัด ถ้ามีหลายวัด หรือในหลาย ๆ วัดต่อ ๑ อำเภอ เพราะถ้าต่างวัดต่างทำจะไม่เข้มแข็งและมีกำลังคน กำลังงบประมาณไม่เพียงพอ จะทำไม่สำเร็จ ถ้าท่านเจ้าอาวาสยังคิดว่า ไม่เป็นไร ไม่เป็นไร ไม่เป็นไร พระพุทธศาสนาไม่มีใครทำอะไรได้ ยังถือหลักอุเบกขาอยู่ ก็จะตามไม่ทันสถานการณ์ ของบ้านเมืองที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบันในมาตรา ๓๘ และมาตรา ๗๓ กำหนดให้ประชาชนมีเสรีภาพ ในการนับถือศาสนา และนิกายที่ หลากหลายมากขึ้น ประกอบกับทุกศาสนา รัฐให้ความสำคัญเท่าเทียมกันทุกศาสนา และถ้าท่าน เจ้าอาวาสวัดต่าง ๆ ติดตามสถานการณ์อยู่เสมอจะพบว่า
๑. จำนวนวัดร้างเพิ่มมากขึ้นประมาณ ๖,๐๐๐ วัด และขณะนี้นักการเมือง กำลังจ้องมอง วัดร้างเหล่านี้ว่าจะนำที่ดินไปทำให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร ซึ่งนักการเมือง ได้ทำกับที่ดินของวัดธรรมมิการาม จ.ประจวบคีรีขันธ์ ที่ดินอยู่ที่จังหวัดปทุมธานี โดยทำเป็น สนามกอล์ฟอัลไพน์และที่ดินจัดสรรเป็นบ้านพักอาศัย สำเร็จไปขั้นหนึ่งแล้ว
๒. จำนวนพระภิกษุ สามเณร อยู่จำพรรษา แต่ละปีมีประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ รูป ออกพรรษาจะลดจำนวนเหลือ อยู่ประมาณ ๒๓๐,๐๐๐ รูป มาประมาณ ๒๐ ปีแล้ว ไม่มีการเพิ่มขึ้นมีแต่ลดลงเรื่อย ๆ นี่แสดงว่าการบวชเรียนของ พระภิกษุ สามเณร ลดลง จำนวนไม่เพิ่มขึ้น
๓. ที่คุยกันว่า ในประเทศไทยมีชาวพุทธประมาณ ๕๗-๕๘ ล้านคนนั้น น่าจะเป็นตัวเลขที่ไม่ถูกต้อง จำนวนชาวพุทธลดลง ขณะนี้จะมีประมาณ ๕๕ ล้านคน เป็นชาวพุทธที่มีความรู้ความเข้าใจหลักของพระพุทธศาสนาจริง ๆ และนำธรรมะของ พระพุทธศาสนาไปปฏิบัติอยู่เป็นนิตย์ประมาณสัก ๒-๓ ล้านคน นอกนั้นจะเป็นชาวพุทธ ตามทะเบียนบ้าน
๔. การเรียนการสอนนักธรร, บาลี ไม่มีการปรัปรุงให้ สอดคล้องกับการศึกษา ทางโลกและไม่สามารถถ่ายโอนหน่วยการเรียนกันได้ กุลบุตรในท้องถิ่นจึงมุ่ง ไปเรียนทางโลก มากกว่ามาบวชเรียนเป็นพระภิกษุ สามเณร และเมื่อ วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๔๕ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม "หลักสูตรใหม่เด็กไทยพัฒนาฯ" ณ สถาบัน ราชภัฎสวนดุสิต ติงว่าสาระการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนานั้น กรอบความคิดดีแล้ว แต่รายละเอียด มากเกินไป หากใครเรียนจบพระพุทธศาสนาตามหลักสูตรใหม่เหมือนจบ ปริญญาเอกทางพระ อยากให้เน้นสอนหน้าที่พลเมืองมากกว่า และไปเพิ่มน้ำหนักวิชาคณิต-ศาสตร ์และภาษาอังกฤษ ให้มากขึ้น* นับว่าเป็นความคิดที่ดี แต่การที่จะตัดวิชาพระพุทธศาสนาให้น้อยลง ไม่ถูกต้อง แน่นอน เพราะที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน นักเรียนนักศึกษาที่เป็นชาวพุทธ มีความรู้ ความเข้าใจใน พระพุทธศาสนาน้อยมาก จึงจำเป็นต้องสอนวิชาพระพุทธศาสนา ทุกโรงเรียนแก่ นักเรียนที่เป็น พุทธ-ศาสนิกชนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงปริญญาตรีเป็นอย่างน้อย ซึ่งความยากง่าย ของหลักสูตร ปรับเปลี่ยนได้ทุกชั้นเรียน เพราะนักเรียนนักศึกษาที่มีความเครียด เป็นโรคจิต โรคประสาท ถึงฆ่าตัวตายมีอยู่ทุกวัน เนื่องจากขาดธรรมะในวิชา พระพุทธศาสนาไป ชโลมจิต ใจนั่นเอง วิชาพระพุทธศาสนาถ้านำไปใช้เป็น จะสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ของโลกได้ทุกเรื่อง เมื่อตอนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายก รัฐมนตรี ใหม่ ๆ ได้ไปพบพระมหาเถระรูปหนึ่ง แล้วท่านพระมหาเถระรูปนั้นได้มอบร่าง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ..... ให้ด้วย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้สัมภาษณ์ว่า "ผมเป็นชาวพุทธ ๑๐๐ % จะดูแลให้ดีที่สุด" ซึ่งขณะนี้ร่าง พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ..... ถูกเก็บดองไว้ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เกือบ ๒ ปีแล้ว นี้หมายความว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการให้ชาวพุทธเป็นอะไร พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นชาวพุทธจริงหรือไม่ ชาวพุทธ กำลังสงสัยกันอยู่หรือว่าพระภิกษุ ไม่มีสิทธิ์เลือกตั้ง ได้เลยไม่ต้องหาเสียงกับพระ ประกอบกับ ขณะนี้นักการเมือง นักบริหาร นักวิชาการ ครูอาจารย์ นิสิต นักศึกษา ฯลฯ ในระดับต่าง ๆ กำลังเพ่งมองมาที่วัดของเราว่า ใช้เงินลงทุนสร้างวัดใหญ่โต หรูหรา สวยงาม มีสิ่งอำนวย ความสะดวกมากมาย แต่การใช้สอยไม่คุ้มทุน ไม่คุ้มค่า ชาวบ้านรอบ ๆ บริเวณวัดยังยากจนอยู่ เป็นการสูญเสีย ทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก

ทำอย่างไร ? ให้วัดเป็นศูนย์กลางของสังคมไทย ทุกรูปแบบจาก น.ส.พ. ไทยรัฐ หน้า ๑๕ และเดลินิวส์ หน้า ๑๕ : ๒๖ ธ.ค. ๒๕๔๕

No comments: