Thursday, October 12, 2006

พุทธศาสนากับจิตวิทยาสังคมไทย

พระพุทธศาสนาจะเยียวยาโลกในช่วงวิกฤตนี้ ได้หรือไม่?วิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลกระทบต่อ ทั้งมนุษย์ และ สังคมถือได้ว่า เป็นปัญหายิ่งใหญ่ที่สุด ที่มนุษยชาติกำลังเผชิญอยู่ ในช่วงเปลี่ยนผ่าน สู่ทศตวรรษหน้าที่กำลังมีการศึกษา ถึงรูปแบบต่างๆ ในการพัฒนาแบบยั่งยืนอยู่ ซึ่งเรื่องนี้คงจะไม่สำเร็จแน่ หากไม่มีการเปลี่ยนวิธีคิดขั้นพื้นฐาน อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวไว้ว่า 'เราจำต้องมีวิธีคิดแบบปฏิรูปอย่างถึงโคน มนุษยชาติจึงจะอยู่รอดต่อไปได้ได้มีการพยายามส่งเสริม 'วิธีคิดแบบใหม่' ในช่วงของการรณรงค์ต่อต้านสงครามนิวเคลียร์ จากภาวะวิกฤตทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งแท้จริงเป็นวิกฤตของมนุษยชาติเองด้วย วิธีคิดแบบใหม่ก็เป็นสิ่งที่จะต้องคำนึงถึง หรืออาจจะจำเป็นมากกว่าด้วยซ้ำ ส่วนมาก รูปแบบของวิธีคิดในปัจจุบันมักจะตกอยู่ใต้อิทธิพล ของแนวคิดแบบบริโภคนิยม และอรรถประโยชน์นิยม ซึ่งนั่นจะนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างอุปาทานด้านทรัพยากรอันจำกัด กับอุปสงค์ ทางการบริโภควัตถุ อันไม่มีที่สิ้นสุดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาการปรากฎ ของความขัดแย้ง นี้ก็คือ ความเครียด ความรุนแรง สงคราม วิกฤตการณ์ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม นิตยสารไทม์ฉบับเมื่อเร็วๆ นี้ได้นำเอาปัญหาเรื่อง การค้าประเวณี และการละเมิดสิทธิเด็ก ขึ้นหน้าปก และได้รายงานว่า มีผู้หญิงและเด็กอย่างน้อย 30 ล้านได้ถูกขายตัวไปอยู่ ในวงการเพศพาณิชย์ นี้เป็นแค่ส่วนเล็กน้อย ของวิกฤตการณ์ทางศีลธรรม อันมีสาเหตุมาจากอารยธรรมปัจจุบัน ของมนุษยชาติ
การพัฒนาด้านจิตวิญญาณของสังคมไทยวิกฤตการณ์ทางจิตวิญญาณ คือรากเหง้าแห่งปัญหาความเจ็บป่วยที่ปรากฎออกมาเหล่านี้ ขณะที่ทรัพยากรทางจิตวิญญาณ าได้มีอยู่จำกัดไม่ เราสามารถแสวงหาความสุขได้ และจะยิ่งได้รับความสุขในระดับที่สูงขึ้นและลึกซึ้งยิ่งขึ้น หากมีการบริโภคทางวัตถุแต่น้อยเป็นที่ชัดเจนว่า มิติด้านวัตถุและจิตวิญญาณไม่อาจแยกขาดจากกันได้และการผสมผสานกันในระดับสัดส่วนที่พอเหมาะ การแสวงหาความสุขด้านวัตถุโดยละเลยความสุขทางจิตวิญญาณ จะนำไปสู่ความต้องการการตอบสนอง ทางวัตถุอันไม่มีที่สิ้นสุด เพราะความพอใจต่อการสนองความต้องการทางวัตถุในระดับหนึ่งจะอิ่มตัวอย่างรวดเร็วและจะเป็นต้นตอของความอยากยิ่งขึ้นไปอีก ในทางตรงกันข้าม ความสุขทางจิตวิญญาณจะทำให้ความต้องการทางวัตถุลดน้อยลง คงไม่ต้องสงสัยว่าความคิดทางจิตวิญญาณเป็นสิ่งที่จะสามารถเยียวยาวิกฤตการณ์ทางสังคมได้ คำถามอยู่ที่ว่าจะทำได้อย่างไร? เมื่อพิจารณาถึงปรากฏการณ์ที่กำลังปรากฎอยู่ในเวลานี้พระพุทธศาสนาเรียกอีกอย่างได้ว่าเป็น "มัชเฌนธรรม" เพราะทั้งไม่อยู่ข้าง อัตตกิลมถานุโยค หรือการทรมานตนเองด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งรวมทั้งการบริโภคน้อยเกินไปหรือไม่อยู่ข้าง กามสุขัลลิกานุโยค หรือการเสพติดสุขทางเนื้อหนัง ที่ชัดเจนอย่างยิ่งก็คือ พระพุทธศาสนาเน้นการพัฒนาด้านจิตวิญญาณแต่เมื่อพระพุทธศาสนาไม่มีความเชื่อเรื่องพระ เจ้าแล้วจิตวิญญาณของพระพุทธศาสนาคืออะไร? ความเป็นอิสระจากความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนเป็นอุดมคติของพระพุทธศาสนา นิพพานหรือภาวะการดับสิ้นโลภะโทสะและโมหะเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา การพัฒนาทางจิตวิญญาณทีละน้อยในทุกระดับ ไม่ว่าเร็วหรือช้าก็เป็นการสร้างพลังความเข้มแข็งได้เสมอความก้าวหน้าทางจิตวิญญาณสัมพันธ์กับการลดลงหรือหมดสิ้นไปแห่งทุกข์และมีความสุขเพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นความสุขนั้นเกิดขึ้นจากความหายไปของความเห็นแก่ตัว และความยึดมั่นถือมั่นในตัวอันจะช่วยเอื้ออำนวยผลดีแก่บุคคลอื่นๆ ด้วยเช่นกันความก้าวหน้าทางจิตวิญญาณเกิดขึ้นได้จากบุญกิริยาวัตถุ 3 ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติสำหรับฆราวาส อันประกอบด้วย ทานมัย (การให้) สีลมัย การประพฤติตามหลักธรรม) และภาวนามัย (การพัฒนาทางจิตใจ, สัมมาสมาธิ)
อิทธิพลพระพุทธศาสนาต่อจิตวิญญาณสังคมไทย เนื่องจากประเทศไทย ก็ตกอยู่ในภายใต้อิทธิพลของวัตถุนิยม เมื่อจะพิจารณาถึงพระพุทธศาสนาและความคิดเรื่องจิตวิญญาณของสังคมไทยเราจำเป็นจะต้องมองย้อนไปที่ภูมิหลังสักเล็กน้อยประเทศไทยเป็นเมืองพุทธในทุกๆ ลักษณะ ทั้งในแง่รูปแบบและโครงสร้างในประเทศที่ค่อนข้างเล็กนี้ เรามีวัดอยู่มากกว่า ๓๐,๐๐๐ วัด มีพระมากกว่า ๒๕๐,๐๐๐ รูป สามเณร ๑๐๐,๐๐๐ รูป และกล่าวกันว่าร้อยละ ๙๐ ของประชากรนับถือศาสนาพุทธ นับแต่ยุคต้นๆ ประวัติศาสตร์ของประเทศ พระเจ้าแผ่นดินทุกพระองค์ล้วนทรงเป็นพุทธมามกะ ก่อน กระบวนการทำให้ทันสมัย พระพุทธศาสนายังมีบทบาทสำคัญในสังคมไทย โครงสร้างทางสังคม ยังเป็นชุมชนเกษตรกรรมเสียเป็นส่วนมาก วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนทั้งในด้านการศึกษา การรักษาพยาบาล วัฒนธรรมและความคิดทางจิตวิญญาณ สังคมเช่นนี้ สามารถดำรงอยู่ได้เอง เป็นระยะเวลายาวนานโดยไม่ต้องพึ่งพารัฐและรัฐบาล และรัฐเองก็ยังไม่ได้เป็นผู้กำหนดทิศทางนโยบายทางเศรษฐกิจให้ ชุมชนต่างๆ ก็ได้รับการช่วยเหลือจากพระพุทธศาสนาให้อยู่ใภาวะสมดุลได้มากบ้างน้อยบ้างตามสมควรถึงแม้ว่าฆราวาสชนจะไม่ค่อยมีการศึกษาคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้งนัก พวกเขาก็ยังได้รับอิทธิพล ผ่านวัฒนธรรมทางวัตถุต่างๆ ที่เนื่องด้วยความคิดทางจิตวิญญาณ อันปรากฎอยู่ทุกๆ ที่ ทั้งที่เป็นวัด พระพุทธรูปและพระเจดีย์ การทำบุญตักบาตรทุกเช้าและประเพณีพิธีกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับพระสงฆ์และวัดในชีวิตประจำวันล้วนมีความหมายในด้านการยกระดับทางจิตวิญญาณ ไม่ต้องสงสัยเลยว่า การปฏิบัติสัมมาสมาธิได้ช่วยให้ปัจเจกบุคคลหลุดพ้นมามากแล้วและพวกเขาก็ได้บรรลุซึ่งอุดมคติสูงสุดของพระพุทธศาสนาในด้านจิตวิญญาณพระพุทธศาสนาที่เข้มข้นรวมทั้งวัฒนธรรมท้องถิ่นได้มีอิทธิพลต่อการก่อร่างบุคลิกของคนไทย
แม้ว่าบุคลิกภาพของคนไทยจะมีลักษณะผสมผสาน แต่ในบางลักษณะก็อาจคุยได้เป็นบุคลิกภาพที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ บุคลิกภาพของคนไทย โดยทั่วๆ ไปจะประกอบด้วยความเมตตา ความเป็นมิตร และความไม่ยึดติดหรือความปรับตัวยืดหยุ่น ไม่เคยเลยที่คนไทยจะถูกมองว่า เป็นพวกมีความคิดแบบแยกพรรคแยกพวก ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว เกียรติศัพท์เรื่องการมีไมตรีจิตมิตรภาพและความเปิดเผยในด้านวัฒนธรรมก็เป็นที่รู้จักกันดีของคนทั่วไป ศาสนาอื่นๆ เช่นศาสนาฮินดู อิสลามซิกซ์และ คริสต์ ซึ่งถึงแม้จะมีความขัดแย้งที่ต้องเผชิญในการเผยแพร่ทั่วไปในที่พุทธมามกะได้ทรงดำรงพระองค์ในฐานะเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภกส่งเสริมให้คนจากลักทธิศาสนาต่างๆ กันสามารถอยู่ร่วมกันโดยสันติในสังคมไทยประเทศไทยสามารถผ่านพ้นวิกฤตการณ์สำคัญ ๒ ประการ ซึ่งไม่ใช่เป็นเพราะโชคช่วย หากเป็นเพราะคุณูปการ จากบุคลิกภาพของคนไทยที่ได้รับอิทธิพล มาจากความคิดทางจิตวิญญาณของพระพุทธศาสนาประการแรก คือ ลัทธิล่าอาณานิคมของตะวันตก ซึ่งได้ครอบงำประเทศเพื่อนบ้าน ทุกประเทศ ยกเว้นประเทศไทย ประการต่อมา คือ การแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคนี้ ตามทฤษฎีโดมิโน ประเทศไทย ไม่น่าจะรอดพ้น ไปได้แต่เรา ก็สามารถผ่านพ้นมาได้และทำได้ อย่างงดงามด้วย อดีตพลพรรคคอมมิวนิสต์ เป็นจำนวนมากหรือโดยทางปฏิบัติ แทบจะทั้งหมด ล้วนได้รับการยอมรับ กลับเข้าสู่สังคม และดำรงชีวิตอย่างมีเกียรติ บางท่านก็เป็นนักวิชาการ และท่านอื่นๆ ประสบความสำเร็จในภาคธุรกิจ บางทีสิ่งนี้อาจไม่เกิดขึ้นในประเทศอื่นนอกจากประเทศไทยความปรับตัวยืดหยุ่นซึ่งได้รับ อิทธิพล จากความคิดทางจิตวิญญาณของพระพุทธศาสนา จะต้องมีสำคัญในผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนี้
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมกับผลกระทบต่อจิตวิญญาณสังคมไทยประเทศไทยกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กระบวนการทำให้ทันสมัยส่งผลให้ช่องว่างทางสังคมแผ่กว้าง ออกไปทุกขณะ สังคมชนบทกำลังล่มสลาย ขณะที่ในเมืองเกิดการกระจุกตัว เกิดอาชญากรรม การฉ้อราษฎร์บังหลวง การ ค้าประเวณี การละเมิดสิทธิเด็ก โรคเอดส์ วิกฤตการณ์ทางสิ่งแวดล้อม ทำไมพระพุทธูศาสนาไทยและความคิดทางจิต วิญญาณจึงไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤตการณ์ทางศีลธรรมได้ล่ะ ? การเข้ามาของลัทธิวัตถุนิยมที่ท่วมทันโลก ได้มี พลังอย่างรุนแรงและเป็นไปอย่างค่อนข้างฉับพลัน ส่งผลไปในทางปฏิบัติ จนไม่มีสังคมใดจะสามารถต้านทานมันได้ ปัจจัยภายในที่สำคัญที่สุด ซึ่งได้ทำให้ขึดความสามารถในการจัดการกับปัญหาของพระพุทธศาสนาเถรวาทไทยลดลง คือ การขาดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม เรามีบทเรียนทางประวัติศาสตร์ หลายครั้งแล้วว่า ปัจเจกบุคคลหรืออารยธรรมใดที่ขาด ความสามารถในการเรียนรู้ย่อมจะเสื่อมสลายไปพระพุทธศาสนาผ่านทางจารีตประเพณี ซึ่งนั่นอาจจะเพียงพอสำหรับสถาน การณ์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เราจำต้องมีการเรียนรู้ที่เหมาะสมด้วย ภายหลังจากรัฐได้แยกการศึกษาออกจากวัด (Secularization) เมื่อประมาณ ๑๐๐ ปีที่แล้ว ทั้งระบบปริยัติศึกษาและ การศึกษาในระบบโรงเรียนได้กลับกลายเป็นปัญหาขึ้นมา การศึกษาของคณะสงฆ์จะเน้นที่การแปลคัมภีร์ภาษาบาลีเป็น หลักโดยละเลยที่จะศึกษาให้เกิดความเข้าใจในหลักธรรมและการนำไปประยุกต์ใช้ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การศึกษาในระบบโรงเรียนได้ละเลยการทำความเข้าใจและความซาบซึ้งในแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาไปมาก ความอ่อนแอในกระบวนการเรียนรู้เหล่านี้ได้ส่งผลให้จิตวิญญาณของพุทธศาสนิกในสังคมไทยลดน้อยลง
กระแสการพัฒนาด้านจิตวิญญาณในอนาคต ในท่ามกลางความมืดมนก็พอมีแสงสว่างอยู่บ้าง ดังรายละเอีด ๕ ประการ ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ ๑. การอุบัติขึ้นของนักปราชญ์พุทธไทยสองท่าน ได้มีนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาองค์สำคัญยิ่ง เกิดขึ้นในสังคม ร่วมสมัย ๒ ท่านคือ ท่านแรก คือ ท่านพุทธทาสภิกขุ ท่านได้อธิบายคำสอน ทางพระพุทธศาสนา ขึ้นมาให้ด้วยปัญญาญาณ และความ กล้าหาญอันสูงส่ง บทบาทของท่านมีความสำคัญเทียบเท่า หรือจะมากกว่าบทบาทของพระพุทธโฆษาจารย์นักปราชญ์ชาว อินเดียผู้มีชื่อเสียงเมื่อพันปีที่แล้ว อีกท่านหนึ่งคือ พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตโต) ผู้ซึ่งได้จัดแจงเรียบเรียงหลักพุทธธรรมอย่างเป็นระบบ ใน ลักษณะที่คนร่วมสมัยจะเข้าใจได้ง่าย ผลงานของปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสองท่านได้กระตุ้นให้เกิดกระแสการเรียนรู้มากขึ้น ทั้ง ในระดับท้องถิ่นและนานาชาติ
๒. ความสนใจในการปฏิบัติสมาธิภาวนาแบบพุทธมีมากขึ้น สมาธิภาวนาเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่ง ใน การศึกษาพระพุทธศาสนาการศึกดษาแต่เพียงทฤษฎีอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการที่จะทำให้เกิดความเข้าใตและการพัฒนาได้ ขณะนี้มีแนวโน้มชัดเจนเกี่ยวกับความสนใจในการปฏิบัติสมาธิภาวนาแบบพุทธเพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย ประกอบกับ การได้สมาคมกับศูนย์วิปัสสนาที่กำลังก่อตั้งขึ้นในยุโรป อเมริกาและออสเตรเลีย
๓. การนำหลังพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้ ในการฟื้นฟูพัฒนาชุมชน และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการ ขจัดปัญหาทางสังคม และการทำลายสิ่งแวดล้อมในชนบทอันเป็นผลมาจาก การพัฒนาทางเศรษฐกิจ เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา พระคุณเจ้าบางรูป ผู้นำชุมชน องค์กรพัฒนเอกชนนักวิชาการและกระทั้งเจ้าหน้าที่ราชการได้ พยายามประยุกต์หลักพระพุทธศาสนาในการฟื้นฟูพัฒนาชนบทและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจนปรากฎผลดีหลายประการ หลักการนี้ประกอบด้วยการปฏิบัติธรรม การจัดตั้งองค์กรชุมชน การส่งเสริมเกษตรกรรมธรรมชาติ และการรักษาป่าชุมชน ทั้งหมดที่กล่าวมาเหล่านี้ได้นำไปสู่การกินอยู่ที่ดีขึ้นและการฟื้นคืนมาของวัฒนธรรมชุมชนและสภาพนิเวศวิทยา อาชญา กรรมไม่เกิดขึ้นและสันติสุขกลับคืนมา รูปแบบการฟื้นฟูพัฒนาชุมชนและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยอาศัยหลักธรรมทาง พระพุทธศาสนานี้มีความสำคัญมาก เพราะเป็นการพัฒนาที่ผสมผสานองค์ประกอบที่เกี่ยวเนื่องกัน ๗ ประการ กล่าวคือ เศรษฐกิจ, จิตใจ, สังคม, การเมือง, วัฒนธรรม, สิ่งแวดล้อมและการศึกษา และกำลังมีการดำเนินการให้เกิดการโยงใยเป็น เครือข่ายและแพร่ขยายรูปแบบการพัฒนานี้ออกไปอีก๔. การศึกษาของพระสงฆ์ แม้ว่าจะช้าเกินไปสักหน่อย ความเข้าใจในความสำคัญเกี่ยวกับการปรับปรุงการศึกษา ของพระสงฆ์ได้มีมากขึ้นปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยสงฆ์ ๒ แห่งในกรุงเทพฯ คือ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตั้งอยู่ที่วัด มหาธาตุ และมหามกุฎราชวิทยาลัย ตั้งอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ปัจจุบันมหาวิทยาลัยของฆราวาสหลายแห่งมีการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาขึ้นเป็นการภายในและกำลังเตรียม โครงการวิจัยและโครงการบัณฑิตศึกษาในด้านพระพุทธศาสนาขึ้น และที่สวนโมกขพลารามของท่านพุทธทาสภิกขุกำลังมีการวางแผนการอบรมระยะยาวสำหรับการศึกษาพระพุทธศาสนาระดับนานาชาติอย่างเข้มข้น ซึ่งการวิจัยและการศึกษาที่มี คุณภาพเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาจะเป็นการส่งเสริมศักยภาพของพระพุทธศาสนาให้เข้มแข็งขึ้นการช่วยกู้สถานการณ์ของ โลกให้พ้นจากภาวะวิกฤตได้
๕. การยกระดับการศึกษาพระพุทธศาสนาให้เป็นสากล กิจกรรมระดับนานาชาติของการศึกษาพระพุทธศาสนาในแง่ที่เกี่ยวกับงานวิจัยทางวิชาการ การปฏิบัติสมาธิภาวนาและการพัฒนาชุมชนกำลังมีเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การแลกเปลี่ยนและการสร้างเครือข่ายระดับนานาชาติจะช่วยเปิดทัศนะของชาวพุทธเราให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นการช่วยเพิ่มพูนศักยภาพของพระพุทธศาสนาในการเข้าไปมีส่วนช่วยเหลือในวิกฤตการณ์ทั้งระดับท้องถิ่นและระดับโลกศูนย์กลางการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจของโลก กำลังเคลื่อนผ่านน่านน้ำมหาสมุทรแปซิฟิก มาสู่ทวีปเอเซีย โดยประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีนได้รับการคาดหมายว่า จะเป็นประเทศมหาอำนาจภายในศตวรรษหน้านี้ ดังนั้น จึงมีความพยายามร่วมมือกันที่จะผสมผสาน ญาณปัญญาแบบชาวเอเซียซึ่งมีรากฐานจากพระพุทธศาสนา ข้าสู่กระบวนการแห่งพัฒนาการ (ทางเศรษฐกิจ) เพื่อจะนำไปสู่ความยั่งยืนของโลก โดยไม่ทำให้เกิดภาวะวิกฤตดังเช่นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจอย่างที่แล้วๆ มา
โดยสรุปแล้ว วิกฤตการณ์โลกปัจจุบันเกิดจากการพัฒนาอย่างไม่สมดุลการพัฒนายังคงเน้นการเจริญเติบโนทางวัตถุมากเกินไปและได้ละเลยการพัฒนาด้านจิตวิญญาณไป พระพุทธศาสนาได้ชี้ให้เห็นถึงแหล่งความรู้ด้านจิตวิญญาณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง ึ่งสามารถนำมาใช้เพื่อฟื้นฟูระบบการพัฒนาให้เกิดความสมดุลเพื่อเยียวยาวิกฤตการณ์ของโลกได้ประเทศไทยเองแม้จะประสบกับภาวะวิกฤตหลายครั้งเราก็ยังมีขุมความรู้ทางจิตวิญญาณ ตามหลักพระพุทธศาสนาที่มีศักยภาพ และจะนำมาใช้ได้ ซึ่งถ้าหากได้รับการเพิ่มพูนให้มีศักยภาพเข้มข้นและมีการนำไปใช้อย่างเหมาะสมแล้วก็จะสามารถช่วยหลีกเลี่ยงวิกฤตการณ์ของมนุษยชาติและสิ่งแวดล้อมได้

No comments: